วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติอำเภอเวียงป่าเป้า







        เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วเรามักจะมองหรือกล่าวถึงสถานที่หรือความเป็นมาเฉพาะตัวจังหวัด หรือเขตสำคัญทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด มักจะละเลย เขตอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจมากนัก อำเภอเวียงป่าเป้า ก็เช่นกัน แต่ก่อนนั้นเป็นเพียงเมืองผ่านของผู้ที่เดินทางไกล จึงหาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมา หรือ ประวัติ ของอำเภอนี้จากทางอินเทอร์เนตได้น้อยมาก ด้วยเห็นความสำคัญของเรื่องประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย จึงขอนำเอาเรื่องของอำเภอเวียงป่าเป้า มาลงไว้ ทั้งนี้รวมถึง เวียงกาหลง ซึ่งอดีตก็เป็นเมืองสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เพื่อเป็นอีกแหล่งหนึ่งในการศึกษาและอ้างอิงต่อไป

ความเป็นมาของอำเภอเวียงป่าเป้า
       อำเภอเวียงป่าเป้า ในสมัยโบราณกาลมีชื่อว่า “เวียงกาหลง” สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 5 (พ.ศ. 500 – 599) ซึ่งปรากฏตามหลักฐานในหนังสือพงศาวดารชาติไทย เล่ม 2 ของพระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงแว่นแคว้นยวนเชียง (หน้า 4 บรรทัดที่ 2-6) ว่า “เมื่อภายหลัง พ.ศ. 590 ว่านแคว้นยวนเชียงนี้เป็นเมืองส่วยของประเทศอ้ายลาว ผู้ชายคิดเป็นเกลือกับเสื้อ คนละ 2 เสื้อ แล้วแว่นแคว้นยวนเชียงก็แยกตั้งบ้านเมืองออกไปทางทิศตะวันออกอีกหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) แจ้ห่ม เป็นต้น และในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย ซึ่งจัดพิมพ์ในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (หน้า 13) ก็ปรากฏความที่คล้ายกัน คือ ในรวมพุทธศตวรรษที่ 5 มีพวกไทยถอยร่นจากตอนใต้ประเทศจีนปัจจุบัน มาสมทบกับพวกไทยที่เมืองเชียงลาวเพิ่มขึ้นมากทุกที จึงขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปอีก เรียกว่า แคว้นชุนยาง หรือ ยวนเชียง มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) และเชียงแสน ทั้งนี้ภายหลัง พ.ศ. 590 เป็นต้นมา”
จากหลักฐานดังกว่าข้างต้นนี้ เวียงกาหลง หรือ อำเภอเวียงป่าเป้า ในปัจจุบัน ได้ก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5 แต่คงเนื่องด้วยเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย และไม่มีเหตุการณ์หรือบุคคลสำคัญที่เป็นจุดเด่น จึงมิได้ปรากฏในตำนานหรือพงศาวดาร ต่อมาระยะกาลเวลาประมาณหนึ่งร้อยปีมานี้เอง อำเภอเวียงป่าเป้ามีฐานเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ และเป็นที่พักสำหรับผู้เดินทางค้าขายระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน ต่อมาชุมชนหนาแน่นขึ้น เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงได้มอบหมายให้พระยาไชยวงศ์ควยคุมราษฎรชาวนครเชียงใหม่ ขึ้นมาหักล้างถางพงพื้นที่ ซึ่งเป็นที่รกร้องว่างเปล่า ณ บริเวณที่มีชื่อว่า “ป่าเฟยไฮ” (ป่าไทร) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน (ระยะทางประมาณ 4 กม.) แล้วสร้างเป็นเมืองขึ้นใหม่ขนานนามเมืองนี้ว่า “เมืองเฟยไฮ” ตามลักษณะภูมิประเทศเดิมและได้แต่งตั้งให้ พระยาไชยวงศ์ดำรงตำแหน่งพ่อเมืองปกครองเมืองนี้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2430 พระยาไชยวงศ์ พบว่าทางทิศเหนือมีสถานที่เหมาะที่จะสร้างเมือง จึงได้ให้ราษฎรขึ้นไปแผ้วถางป่าซึ่งเป็นป่า “ไม้เป้า” (ต้นเปล้า) และได้ก่อสร้างเป็นเมืองใหม่แล้วขนานนามตามชื่อป่าว่า “เมืองป่าเป้า” ในปีพ.ศ.2440 พระยาไชยวงศ์ถึงแก่อนิจกรรม พระยาเทพณรงค์ ผู้เป็นบุตรเขยได้รับแต่งตั้งให้เป็นพ่อเมืองทำการปกครองแทน และได้ปรับปรุงเมืองป่าเป้าให้มีสภาพมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น โดยใช้อิฐก่อกำแพงเมืองและได้เปลี่ยนนามเมืองเสียใหม่เพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะหรือที่มาของเมืองว่า “เวียงป่าเป้า” ต่อมาพระยาเทพณรงค์ถึงแก่อนิจกรรม พระยาขันธเสมา ซึ่งเป็นน้องเขยจึงได้รับแต่งตั้งให้ครอบครองเมืองสืบมา
ประมาณปี พ.ศ. 2446 พวกเงี้ยว (ชาวไทยใหญ่) ได้ก่อจลาจลขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดกองทัพจากจังหวัดลำปางและเชียงใหม่ ขึ้นไปปราบปรามผู้ก่อจลาจล เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ทางราชการได้จัดตั้งจุดที่ชุมนุมพลให้เป็นอำเภอขึ้น ณ บ้านแม่พริก (ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองอำเภอแม่สรวย) บนฝั่งน้ำลาวว่า “อำเภอแม่พริก” และตั้ง “เวียงป่าเป้า” เป็นกิ่งอำเภอ 

ที่ว่าการอำเภอ : ปัจจุบัน
      สำหรับที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า ตั้งแต่ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ได้ทำการก่อสร้างอาคารที่ว่าการหลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว อาศัยเป็นที่ปฏิบัติราชการตลอดมา ประมาณปี พ.ศ. 2475 อาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดมาก ขุนบวรอุทัยธวัช ซึ่งเป็นนายอำเภอขณะนั้น ได้ทำการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน แต่พอเริ่มดำเนินการก่อสร้างไปเพียงเล็กน้อย ขุนบวรอุทัยธวัชได้ประสบอุบัติเหตุตกม้าถึงแก่ชีวิต ขุนพิพิธสุขอำนวย นายอำเภอคนต่อมาจึงได้ดำเนินการก่อนสร้างต่อ

ลักษณะภูมิศาสตร์


สภาพภูมิอากาศของอำเภอเวียงป่าเป้า แบ่งเป็น 3 ฤดู 

- ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน ระหว่างเดือน มิถุนายน – ตุลาคม ฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม มักจะมีน้ำป่าไหลหลาก อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 – 30 องศาเซลเซียส
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนธันวาคมอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -2 – 25 องศาเซลเซียส บนยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งได้

การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเวียงป่าเป้าแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 92 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ชื่อตำบลตัวเมืองอักษรโรมันจำนวนหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนจำนวนประชากร[5]
1.สันสลีLN-San Sali.pngSan Sali132,8069,076
2.เวียงLN-Wiang.pngWiang125,69514,865
3.บ้านโป่งLN-Ban Pong.pngBan Pong71,7395,245
4.ป่างิ้วLN-Pa Ngio.pngPa Ngio163,3899,316
5.เวียงกาหลงLN-Wiang Ka Long.pngWiang Ka Long153,4229,448
6.แม่เจดีย์LN-Mae Chedi.pngMae Chedi164,0339,536
7.แม่เจดีย์ใหม่LN-Mae Chedi Mai.pngMae Chedi Mai143,3419,606

การปกครองส่วนท้องถิ่น


- ท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
- เทศบาลตำบลแม่ขะจาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่เจดีย์
- เทศบาลตำบลเวียงกาหลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงกาหลงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่างิ้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสันสลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันสลีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโป่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เจดีย์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่ขะจาน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ทั้งตำบล

ลักษณะประชากร
       ด้านชาติพันธุ์ ชาวพื้นเมืองได้อพยพมาจากจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงที่เกิดกบฏเงี้ยวมีทั้งไทยยวนและ ไทยยองประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมือง มีประมาณ 60,000 คน และมีชาวเขาเผ่าม้ง ลาหู่(มูเซอร์) ลีซอ และกะเหรี่ยง ประมาณ 15,000 คน โดยเฉพาะเผ่ามูเซอร์มีมากที่สุด เดิมทีได้อพยพมาจากมณฑลยูนาน, เสฉวน, กวางสี แล้วถูกจีนรุกราน เคลื่อนย้ายมาสู่รัฐเชียงตุง รัฐฉานของพม่า และลาว แล้วทยอยเข้ามาสู่ไทยหลายระลอก ปัจจุบันทำให้เกิดปัญหายาเสพติด และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ปัจจุบันได้มีประชาชนจากภาคอีสานได้มาซื้อที่ดินบริเวณรอบ ๆ อำเภอเวียงป่าเป้า ที่เป็นป่าเสื่อมโทรม มาปลูกสร้างบ้านเรือนและประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน ปลูกข้าว บางหมู่บ้านเป็นคนอีสานทั้งหมู่บ้าน และมีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินและมาอาศัยอยู่ก็มีมาก

สังคมวัฒนธรรม
       ประชากรส่วนมากเป็นชาวพื้นเมือง ที่อพยพมาจาก จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ (ไทยวน) จังหวัดลำพูน (ไทยอง) ประมาณร้อยละ 75 นอกนั้นเป็น ชาวเขา เช่น ปกากะญอ(กะเหรี่ยง) ม้ง เย้า อาข่า มูเซอดำ ลีซอ ศาสนาที่นับถือกันคือ ศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และโปแตสแตนต์ ประเพณีที่สำคัญทางพุทธศาสนาก็คือ ประเพณีตานก๋วยสลาก ปอยหลวง สรงน้ำพระธาตุต่าง ๆ จะมีขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ส่วนประเพณีท้องถิ่นจะมีก่อนวันเพ็ญเดือน 7 ประมาณ 1-2 วัน เช่น การลงผีมด ( เป็นการเข้าทรงของเทวาอารักษ์ประจำหมู่บ้าน) การฟ้อนผีเม็ง ( เป็นการเข้าทรงของเทวาอารักษ์ที่อาศัยอยู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ) การไหว้ผีปู่ย่า ( ผีบรรพบุรุษ ) ส่วนวัฒนธรรมในการดำรงชีพ เช่น การกิน การอยู่อาศัย มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วไปในภาคเหนือล้านนามีการก่อสร้างมัสยิดในเขตตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีศาสนิก ชุมชนมุสลิม หรือสัปบุรุษในพื้นที่เลยสร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มชาวบ้าน และเกิดการต่อต้านจากกลุ่มชาวพุทธในพื้นที่

เศรษฐกิจ
         อาชีพราษฎรส่วนใหญ่ ทำการเกษตรกรรม มีพื้นที่นาประมาณ 39,347 ไร่ ที่ไร่ ประมาณ 28,500 ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้ามีเพียงเล็กน้อย แต่จะมี โรงสีข้างอยู่จำนวนมากบริเวณบ้านหม้อ ตำบลป่างิ้ว ส่วนมากจะรับจ้างสีข้าวส่งที่จังหวัดเชียงใหม่ โรงงานผสมปูนซีเมนต์สำเร็จรูปและผสมยางแอสฟั้นส์ กับหินละเอียด ตั้งอยู่เขตตำบลเวียงกาหลง มีการใช้น้ำมันเตาในการเผายางแอสฟั้นส์(ยางมะตอย)ในการทำยางผสมแอสฟั้นส์ติก เพื่อใช้ในการก่อสร้างถนน ส่วนพืชไร่ที่สำคัญ คือ ขิง จะมีโรงงานดองขิง บริษัท ชวี่ เฉวียน ฟูดส์ จำกัด ตั้งอยู่บริเวณตำบล เวียงกาหลง ซึ่งได้ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ทำรายได้ให้แก่ราษฎรปีละประมาณ 100 ล้านบาท โรงงานดองผักกาดดอง ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของอำเภอ ส่วนพืชชนิดอื่น เช่น กะหล่ำปีจะปลูกมากบนที่ราบสูงโดยเฉพาะชาวเขาได้ทำการปลูกจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำไร่เลื่อนลอย ถางและเผาป่า ใบชาเมี่ยงก็ปลูกกันมากบริเวณหุบเขาผีปันน้ำ เพราะอากาศเย็นตลอดปี มีจำหน่ายในตลาดบ้านแม่ขะจาน โดยเฉพาะใบชาตราแม่ค้าที่ขึ้นชื่อด้านรสชาติ อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟาง ( จะเริ่มทำการ เพาะเห็ด ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ – ตุลาคม ) เห็ดแชมปิยอง ( ระเริ่มทำการเพาะเห็ดประมาณเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์ เพราะเห็ดชนิดนี้ชอบอากาศเย็นในการออกผลผลิต ) ส่วนเห็ดที่สามารถทำการเพาะได้ตลอดปี คือ เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า นางรม เห็ด แต่ก็มีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อเหมือนกัน แต่มีไม่มาก สำหรับตลาดที่รับซื้อที่สำคัญคือ โครงการหลวงดอยคำ อำเภอฝาง บริษัทส่งออกเห็ดแปรรูป นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนโรงงาน UFC จังหวัดลำปาง และส่งขายปลีกให้แก่แม่ค้าภายในอำเภอเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2#.E0.B8.A5.E0.B8.B1.E0.B8.81.E0.B8.A9.E0.B8.93.E0.B8.B0.E0.B8.A0.E0.B8.B9.E0.B8.A1.E0.B8.B4.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A8

สถานที่ท่องเที่ยว

วนอุทยานน้ำตกแม่โท

      วนอุทยานน้ำตกแม่โท อยู่ในท้องที่ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปูนน้อย ป่าแม่ปูนหลวง และป่าห้วยโป่งเหม็น มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540    พื้นที่วนอุทยานน้ำตกแม่โทเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 600-965 เมตร มีความลาดชันเฉลี่ย 40% มีลำห้วยแม่โทไหลผ่านกลางพื้นที่ ลำห้วยหินโทไหลผ่านด้านทิศเหนือ ลำห้วยหลุไหลผ่านด้านทิศใต้และน้ำแม่ปูนหลวงไหลผ่านด้านทิศตะวันออก




วัดหนองยาว



        ตั้งอยู่เลขที่ 199 หมู่ที่ 4 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา เลขที่ 736 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 1 เส้น 11 วา จดที่ดินเอกชน ทิศใต้ประมาณ 1 เส้น 15 วา จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกประมาณ 2 เส้น 2 วา จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกประมาณ 2 เส้น 8 วา จดถนนสาธารณะ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ศาลาอเนกประสงค์ กุฏิสงฆ์ และโรงฉันฑ์ ปูชะนีวัตถุมีพระประธาน โลหะ 1 องค์ เนื้อทองสัมฤทธิ์ 1 องค์ คือพระเจ้าแสนแซ่ และพระพุทธรูป จำนวน 2 องค์
วัดหนองยาวสร้างเมื่อ พ.ศ. 2462 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2498 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร 


วังมัจฉาวัดพระธาตุแม่เจดีย์

wang_mutcha (17)



ที่อยู่: วังมัจฉาเชียงราย ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
ข้อมูลติดต่อ : เทศบาลตำบลแม่ขะจาน 399 หมู่ 10 ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 57260 โทร.053-789437
   วังมัจฉา หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน “ห้วยย่าคำมา” เป็นอ่างเก็บน้ำเขตอภัยทานที่มีปลาน้ำจืดนับล้านตัว เช่น ปลานิล ปลาบึก ปลาดุก ฯลฯ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีทิวทัศน์ที่สวยงามและ ยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่อีกแหล่งหนึ่งในภาคเหนือ ผมมาให้อาหารปลาครับ ซื้อจากด้านหน้ากระสอบละ 200 กว่าบาท แบกมาให้ปลากิน
    วังมัจฉาอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุแม่เจดีย์ซึ่งวัดพระธาตุแม่เจดีย์นั้นได้สร้างขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 1583 โดยพระเจ้าอโนรชามังเซ่งกษัตริย์แห่งพม่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เคารพ สักการะบูชา ของประชาชนใน อำเภอเวียงป่าเป้า จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 พระครูไพบูลฑ์พัฒนาภิรักษ์ได้เข้ามาปฏิบัติธรรมณสถานที่แห่งนี้และได้บูรณะปฏิสังขรณ องค์พระธาตุแม่เจดีย์และองค์พระธาตุเจ้าครูบาศรีวิชัย ให้มีสภาพคงเดิม และได้ทำการสร้างปรับปรุงสถานจุดต่างๆ  ให้เป็น แหล่ง ท่องเที่ยว และอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์พันธุ์ปลา ปัจจุบันเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นที่รู้จักของชาวอำเภอเวียงป่าเป้า เชียงราย


น้ำพุร้อนแม่ขะจาน


          เป็นบ่อน้ำร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่ของหมู่บ้านโป่งน้ำร้อน
เล่าว่า เมื่อก่อนบริเวณนี้ยังไม่มีหมู่บ้านเป็นป่าดงดิบ เมื่อก่อนเรียกว่าโป่งดิน มีสัตว์ทั้งน้อย ทั้งใหญ่
 ลงมากินดิน โป่งเป็นประจำ และบริเวณน้ำพุร้อนก็ยังเป็นทางผ่านระหว่างพ่อค้าจังหวัดเชียงใหม่
และเชียงราย โดยมีม้าและวัวเป็นพาหนะ เป็นเส้นทางเดินไปตามไหล่เขาและถือเป็นจุดพักแรมค้างคืน
 เพราะพื้นเป็นลานกว้าง ทำเลสะดวก และมีบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติ ปัจจุบัน น้ำพุร้อนแม่ขะจา
ได้กลายเป็นจุดพักรถระหว่างทางจากเชียงใหม่ไปสู่เชียงราย หรือจากเชียงใหม่ไปสู่พะเยา
 นอกจากนี้แล้ว ภายในน้ำพุร้อนแม่ขะจานยังมีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP
 เครื่องประดับ ไม้แกะสลัก และของที่ระลึก ไว้บริการนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากอีกด้วย 

ที่พัก

ภูมิธาดา โฮมสเตย์



          ตั้งอยู่ในเวียงป่าเป้า ให้บริการที่พักในท่ามกลางพื้นที่เขียวขจี โฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงแห่งนี้มีอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรี และที่จอดรถฟรี     ห่างจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ 85 กิโลเมตร
ห้องพักทุกห้องมีพัดลม เคเบิลทีวีจอแบน ระเบียง และห้องน้ำส่วนตัว ผู้เข้าพักในเต็นท์สามารถใช้ห้องน้ำรวมได้
มีห้องอาหารให้บริการอาหารไทยที่หลากหลาย 




ฟูลเฮาส์ รีสอร์ท



           
       ให้บริการห้องพักพร้อมพื้นที่ปรุงอาหารและ/หรือซักรีด สระว่ายน้ำกลางแจ้ง ห้องอาหาร และร้านกาแฟ อินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรีในห้องพัก และที่จอดรถส่วนตัวในสถานที่
Fullhouse Resort ตั้งอยู่ในเวียงป่าเป้า ห่างจากพระธาตุพระเจ้าลายและสวนสาธารณะวังมัจฉา 1 กิโลเมตร ห่างจากวัดร่องขุ่น 25 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินเชียงใหม่ 82 กิโลเมตร
วิลลาปรับอากาศมีลานเฉลียง พื้นที่รับประทานอาหารกลางแจ้งที่มองเห็นวิวภูเขา ทีวีจอแบน ตู้เย็น มินิบาร์ ห้องน้ำในตัวพร้อมฝักบัว เครื่องเป่าผม เครื่องใช้ในห้องน้ำฟรี และผ้าขนหนู
Fullhouse Resort มีบริการจักรยานให้เช่า บริการซักรีด บริการรถรับส่งสนามบิน และมีบริการทรีทเมนท์นวดเมื่อแจ้งความประสงค์ 





H2O Hotel





   
       ให้บริการที่พักในบ้านแม่ขะจาน อยู่ห่างจากน้ำพุร้อนแม่ขะจานเป็น 10 กิโลเมตร

ห้องพักมีโทรทัศน์จอแบนระบบช่องรายการดาวเทียม ห้องพักทุกห้องมีห้องน้ำส่วนตัวพร้อมอ่างอาบน้ำหรือฝักบัว และโทรทัศน์    สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือสนามบินเชียงใหม่ที่อยู่ห่างจากโรงแรมเป็นระยะทาง 76 กิโลเมตร วังมัจฉา, วัดพระธาตุแม่เจดีย์ และวัดพระเจ้าหลวงอยู่ห่างออกไป 3 กิโลเมตร 





ภูฟ้าธารา รีสอร์ท 




           ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่เงียบสงบ มีห้องพักทันสมัยแบบล้านนาให้บริการพร้อมเครื่องปรับอากาศและอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรี ท่านสามารถสำรวจพื้นที่รอบโรงแรมที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงแห่งนี้ได้ด้วยบริการเช่าจักรยานฟรี
โรงแรมอยู่ห่างจากน้ำพุแม่ขะจาน 2 กิโลเมตร ห่างจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ 70 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินเชียงราย 120 กิโลเมตร
ห้องพักทันสมัยปูพื้นด้วยไม้ที่ Phufa Tara ได้รับการตกแต่งแบบร่วมสมัย แต่ละห้องมีระเบียงส่วนตัว ทีวีจอแบน มินิบาร์ ตลอดจนห้องน้ำในตัวพร้อมฝักบัว
เด็ก ๆ สามารถเล่นอย่างสนุกสนานได้ที่สนามเด็กเล่น ส่วนผู้ใหญ่สามารถขับรถเอทีวีตามเส้นทางที่สวยงามได้ นอกจากนี้โรงแรมยังมีโต๊ะบริการทัวร์ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการซักรีด และบริการรถรับส่งเพื่อำนวยความสะดวกให้กับท่าน
ห้องอาหาร Phufa Tara มีบริการอาหารไทยและนานาชาติชั้นยอด ตลอดจนบริการรูมเซอร์วิสเมื่อแจ้งความประสงค์

อาหาร

  อิ่มดี (Imdee)


ร้านอาหาร อิ่มดี

        ร้านอิ่มดี นี้ตั้งอยู่บ้านป่าบง ต. เวียง อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย การเดินทาง มุ่งหน้ามาจาก ต.เวียงกาหลง หรือน้ำพุร้อนแม่ขะจานมาประมาณ 10 กิโลเมตร (เลย3 แยกที่จะไป อ. พร้าว จ. เชียงใหม่) ร้านอยู่ซ้ายมือติดถนน ตรงกันข้ามกับ ร้านขายของฝาก ภัทรวดี สังเกตุชัดเจนมาก ๆ ค่ะ จอดรถหน้าร้าน และด้านข้างของร้านได้ค่ะ ประมาณ 10 คัน เป็นร้านโล่ง ๆ โปร่ง ชั้นเดียว สบาย ๆ ลมโกรกเย็นดีเชียว หากเป็นช่วงฤดูทำนา หากข้าวออกรวงจะสวยทีเดียวค่ะที่มุมหลังร้าน ติดทุ่งนา ห้องน้ำสะอาดมาก ๆ อยู่หลังร้านเช่นกัน และมีมุมที่ให้เลือกหลากหลายที่เหมือนกันค่ะ เยอะมาก ๆ ประมาณ 40-100 คน น่าจะไหวอยู่



คอฟฟี่วิว (COFFEE VIEW)


 หน้าร้าน ที่ ร้านอาหาร คอฟฟี่วิว
ที่อยู่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 แม่เจดีย์ใหม่ , เวียงป่าเป้า , เชียงราย 50190
เบอร์ติดต่อ 081-318-2334 , 088-251-8344
เวลาเปิดร้าน ทุกวัน : 08:00 - 20:00     ต่ำกว่า 100 บาท
          บรรยากาศ ร้านตั้งอยู่บนดอยค่ะ ติดถนนใหญ่ ด้านนอกร่มรื่น มีต้นไม้ให้ร่มเงา มุมถ่ายรูปวิวสวยทีเดียว เข้าไปภายในจะเจอเคาท์เตอร์สั่งเมนู อาหารและเครื่องดื่ม ด้านขวามือมีมุมนั่งแบบโต๊ะ เก้าอี้ไม้ อย่างดี แต่ละมุมนั่งได้ 3 -4 คน มี ประมาณ 3 มุมค่ะ เดินถัดเข้าไปอีกหน่อย เป็นมุมที่คิดว่าเป็นจุดเด่นของร้าน คือ เป็นจุดที่น่านั่งที่สุด แบบห้อยขาชมบรรยากาศริมดอย สุดลูกหูลูกตา ลมโกรกเย็นสบายทีเดียว และมีจุดให้อาหารปลาแบบรอก (ลอยฟ้า) ให้อาหารด้านบน ดึงรอกลงด้านล่าง มีบ่อขนาดใหญ่อยู่ด้านล่างค่ะร้านแบ่งเป็น 2 โซนค่ะ หาก สั่งอาหาร จะต้องลงมานั่งอีกโซนค่ะ ลงบันไดไม้ข้ามตามแนวบันไดมานั่งสั่งอาหารกินได้ค่ะ ระหว่างทางจะมีจุดให้อาหารกระต่าย ร้านเลี้ยงกระต่ายอยู่หลายตัวค่ะ 


The White Cup Coffe by Chang Coffee (ไวท์คัพช้างคอฟฟี่)


ที่อยู่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 บ้านโป่ง , เวียงป่าเป้า , เชียงราย50190 
        บรรยากาศ ร้านกว้างขวางค่ะ มีมุมนั่งทั้งแบบ indoor และ outdoor ส่วนภายใน มีมุมให้เลือกเยอะทีเดียวต่ะ จะเลือกนั่งเป็นคู่ หรือมาสัก 2 ถึง 3 คน เป็นโต๊ะเก้าอี้ ไม้ (อันนี้อยู่บริเวณหนาเคาท์เตอร์สั่งเมนู) ถัดออกมาอีกนิดทางส่วนซ้าย จะเป็นมุมที่นั่งแบบเก้าอี้โซฟา อันนี้เหมาะกับลูกค้าที่เดินทางมาเป็นกลุ่ม เป็นคณะ ในส่วนทางด้านขวาเป็นมุมนั่ง ที่เรียกว่า เป็นระเบียงหน้าร้าน ส่วนนี้ สามารถชมบรรยากาศด้านนอกดู รถราที่สิ่งผ่านถนนสายนี้ ส่วนนี้เป็นโต๊ะ เก้าอี้ไม้ นั่งเป็นคู่ ๆ เท่าที่เห็นด้วยสายตา ประมาณ เกือบ 10 มุม นั่ง และต่อไป ส่วนด้านหน้าร้านจะร่มรื่นค่ะ มีต้นไม้ ดอกไม้ ให้ร่มเงา ใกล้ ๆ กันมีบ่อปลา ชิงช้า เล็ก ๆ สะพานเล็ก ๆ มุมนี้จะนั่งเย็นสบายกว่าด้านในค่ะ ร่มรื่นทีเดียว และร้านยังมีอีกส่วน ด้านนอกคือ จะมีโรงคั่วกาแฟเอง ซึ่งเป็นอาราบิกา 100 เปอร์เซนต์ ของดอยช้าง ใช้ในร้านเอง และส่งไปตามร้านต่าง ๆ อีกทั้งยังเปิดสอนการทำกาแฟอีกด้วย 


Sabuy D Coffee (สบายดี คอฟฟี่) 


                                                         https://www.wongnai.com/restaurants/213333hI-sabuy-d-coffee

ที่อยู่ 118 (ร้านอยู่ตรงน้ำพุร้อนเวียงป่าเป้า เชียงราย) แม่เจดีย์ใหม่ , เวียงป่าเป้า , เชียงราย
เบอร์ติดต่อ 085-117-3237
       ร้านสบายดี คอฟฟี่ ตั้งอยุ่ ติดถนน แถวๆ น้ำพุร้อน เวียงป่าเป่า ฝั่งขาเข้าเชียงใหม่ เป็นร้านเปิดใหม่ รอบๆบริเวณร้านจะมีน้ำแร่ให้แช่เท้า ขอบอกว่าสบายเท้ามากๆ ส่วนด้านในร้านจะเหมือนร้านกาแฟทั่วๆไป มีขนม ไอศครีม ห้องแอร์ ด้านนอกมีทางเดินยาว มีสวนสตรอเบอรี่ เราสามารถเดินไปยังลานต้มไข่ได้ บรรยากาศดีมาก ธรรมชาติสุดๆ

คำขวัญ



คำขวัญประจำอำเภอเวียงป่าเป้า

" เมืองโบราณเวียงกาหลง 
มีองค์พระธาตุแม่เจดีย์ 
น้ำพุร้อนดี ทุ่งเทวีและโป่งน้ำร้อน "